Stakeholders

AAI กำหนดและแบ่งกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียกลุ่มต่างๆ ออกเป็น 9 กลุ่ม ได้แก่ ผู้ถือหุ้น ลูกค้า คู่ค้า เจ้าหนี้ พนักงาน คู่แข่งทางการค้า สังคมและชุมชน หน่วยงานภาครัฐ และองค์กรอิสระอื่น และมีการกำหนดสิทธิของผู้มีส่วนได้เสียและแนวทางปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียไว้ในนโยบายการ กำกับดูแลกิจการ และจริยธรรมธุรกิจของเอเชี่ยน ตลอดจนให้ความสำคัญกับการปฎิบัติตาม นโยบายด้านการจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชั่นอย่างเข้มข้น

การปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณ
ที่ดีในการดำเนินธุรกิจ

ต่อผู้ถือหุ้น

มุ่งมั่นในการสร้างความเติบโตอย่างมีคุณภาพ และ มั่นคง เพื่อผู้ถือหุ้นได้รับผลตอบแทนที่ยั่งยืนจากการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและผลประกอบการที่ดี ของบริษัทฯ

ต่อลูกค้า

สร้างความพึงพอใจให้ลูกค้าได้รับสินค้าและบริการที่มีคุณภาพ ภายใต้ความปลอดภัยต่อสุขภาพ อนามัย ชีวิต และทรัพย์สินรวมถึงปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงต่างๆ ที่มีต่อลูกค้าอย่างเป็นธรรม

ต่อคู่ค้า

ปฎิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงต่างๆ ที่มีต่อคู่ค้าอย่างเป็นธรรม และดูแลให้มีระบบการจัดซื้อจัดจ้างสินค้าและบริการที่มีความโปร่งใส โดยปฏิบัติต่อคู่ค้าทุกรายอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เป็นไปตามระเบียบบริษัทฯ

ต่อเจ้าหนี้

ปฏิบัติตามสัญญาหรือข้อตกลงต่าง ๆ ที่มีต่อเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัดและบริหารงานเพื่อให้เจ้าหนี้มั่นใจในฐานะทางการเงิน และความสามารถในการชำระหนี้ ที่ดีของบริษัทฯ

ต่อภาครัฐ

ให้ความร่วมมือกับภาครัฐในการปฏิบัติตามกฎหมายระเบียบและข้อบังคับที่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจอย่างเคร่งครัด รวมถึงการไม่ใช้แรงงานบังคับหรือแรงงานเด็ก

ต่อคู่แข่งทางการค้า

ประพฤติปฏิบัติภายใต้กรอบกติกาของการแข่งขันที่เป็นธรรม ไม่ทำลายชื่อเสียงของคู่แข่งทางการค้าโดยการกล่าวหาด้วยข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง หรือด้วยวิธิการที่ไม่เหมาะสม

ต่อองค์กรอิสระ และองค์กรอื่นๆ ในสังคม

ให้ความความร่วมมือกับองค์กรอิสระและองค์กรอื่นๆในสังคมรวมถึงการเปิดเผยข้อมูลต่างๆอย่างถูกต้อง

ต่อพนักงาน

กำหนดโครงสร้างเงินเดือน ค่าตอบแทนและสวัสดิการให้เทียบเคียงกับธุรกิจเดียวกัน จัดให้มีแผนฝึกอบรมเพื่อพัฒนาความสามารถ มีระบบการประเมิณผลงานที่ชัดเจนโปร่งใส ตลอดจนเคารพสิทธิในการแสดงความคิดเห็นของพนักงานทุกระดับ

ต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม

ดูแลป้องกันมิให้การดำเนินงานของบริษัทก่อให้เกิดความเสียหายต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมรวมถึงจัดให้มีช่องทางการร้องทุกข์ในเรื่องที่อาจมีผลกระทบต่อชุมชน ดำเนินการตรวจสอบ หาสาเหตุ และปรับปรุงแก้ไข

การบริหารความเสี่ยง

แต่งตั้งคณะกรรมการบริหารความเสี่ยง ซึ่งประกอบไปด้วยผู้บริหารระดับสูงของ แต่ละสายงานและผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก เป็นผู้รับผิดชอบงานด้านการบริหารความเสี่ยง ของบริษัทฯ มีการประเมินและวิเคราะห์ประเด็นความเสี่ยง โอกาสที่จะเกิดและระดับผลกระทบ ที่มีต่อองค์กร รวมถึงกำหนดมาตรการการจัดการความเสี่ยงที่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญ ต่อการเติบโตทางธุรกิจ ทั้งความเสี่ยงที่เป็นความเสี่ยงระดับองค์กร และความเสี่ยง ในระดับหน่วยธุรกิจ

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน

มุ่งพัฒนาการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน วิเคราะห์ความสำคัญของทุก ๆ องค์กร ที่มีผลกระทบต่อต้นทุน และมีบทบาทที่สำคัญในการผลิตผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับความ ต้องการของลูกค้า นับจากคู่ค้าไปจนถึงลูกค้า เพื่อนำมาพัฒนากระบวนการทำงานให้มี ประสิทธิภาพและประสิทธิผลด้านต้นทุนต่อระบบโดยรวม พัฒนาคู่ค้าไปพร้อม ๆ กับ การพัฒนาองค์กรเพื่อยกระดับการดำเนินงานและเพิ่มความสามารถในการแข่งขันร่วมกัน